กลุ่มงานสรีระไฟฟ้าหัวใจ
อนุสาขาสรีระไฟฟ้าหัวใจ ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นกลุ่มงานที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การดูแลรักษาผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างเป็นองค์รวมและมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล หน่วยงานของเรามีความพร้อมและความชำนาญในการดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้มาเป็นเวลายาวนาน ทั้งในด้านการให้การรักษาด้วยการจี้ไฟฟ้าหัวใจ (catheter ablation) และการฝังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หัวใจ (cardiac implantable electronic device, CIED) นอกจากนี้กลุ่มงานของเรายังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์สูงสุด และสามารถรองรับการส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลต่างๆทั่วประเทศได้อย่างครอบคลุม สำหรับการดูแลรักษาผู้ป่วยนั้นจะถูกปรับเปลี่ยนไปตามนวัตกรรมสากลเพื่อให้มีความทันสมัย อาทิเช่น มีการนำเข้าเทคโนโลยีฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดใหม่ หรือ conduction system pacing (His bundle pacing และ left bundle branch pacing) มีการนำเข้าเทคโนโลยีฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจแบบไร้สาย (leadless pacemaker) มีการนำเข้าเทคโนโลยีฝังเครื่องกระตุกหัวใจชนิดใต้ผิวหนัง (subcutaneous implantable cardioverter defibrillator, subcutaneous ICD) และมีการริเริ่มหัตถการถอดสายอุปกรณ์ออกโดยใช้เลเซอร์ (laser-assisted lead extraction) ยิ่งไปกว่านั้นหน่วยงานของเรายังส่งเสริมการทำวิจัย ให้การสนับสนุนและจัดการเรียนการสอนด้านวิชาการ อาทิเช่น จัดกิจกรรม “EKG workshop” ทุกปี เพื่อให้แพทย์ใช้ทุน แพทย์ประจำบ้าน แพทย์ประจำบ้านต่อยอด รวมไปถึงบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความสนใจ มีโอกาสได้เข้าร่วม แลกเปลี่ยน และเพิ่มพูนความรู้เพื่อให้เข้ากับวิสัยทัศน์ขององค์กร กล่าวคือ “การดูแลแบบครบวงจร มีบูรณภาพ ทันสมัย และเป็นเลิศ”
วิสัยทัศน์
อนุสาขาสรีระไฟฟ้าหัวใจ ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นกลุ่มงานที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การดูแลรักษาผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างเป็นองค์รวมและมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล มีความพร้อมในการรองรับการส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลต่างๆทั่วประเทศได้อย่างครอบคลุม
พันธกิจ
- เพื่อให้ผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะจากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างครอบคลุมทั่วถึงทั้งโดยการปรึกษาด้านการรักษาพยาบาลผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์ หรือการส่งต่อผู้ป่วยผ่านโรงพยาบาลศูนย์เข้ามารับการรักษายัง Chulalongkorn Advanced Cardiac Arrhythmia Center (CACAC)
- เพื่อสร้างระบบการเรียนการสอนที่มีคุณภาพสำหรับนิสิตแพทย์ แพทย์ประจำบ้านอายุรศาสตร์ แพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขาวิชาโรคหัวใจและหลอดเลือด แพทย์ประจำบ้านต่อยอด electrophysiology
- เพื่อเป็นศูนย์กลางให้แพทย์ทั่วไปตามโรงพยาบาลต่างๆทั่วประเทศสามารถส่งคำปรึกษาและใช้ระบบสื่อการสอนของศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เป้าหมาย
ด้านการบริการ
- ให้บริการการรักษาพยาบาลผู้ป่วยแบบครบวงจร มีคุณภาพ และได้มาตรฐาน
- Atrial fibrillation/ Atrial flutter/ Atrial tachycardia ablation
- Supraventricular/ Ventricular tachycardia ablation
- Cardiac devices implantation เช่น AICD, CRT, Cardiac pacemakers and Pacemakers clinic and Remote monitoring center
- Laser lead extractions
- Cardiac arrhythmia medical management
- Syncope clinic
- สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน โดยมีระบบการส่งต่อผู้ป่วยเชื่อมโยงกับโรงพยาบาลอื่นในทุกระดับ
- มีระบบเครือข่ายออนไลน์เพื่อรับคำปรึกษาด้านการวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วย cardiac arrhythmia จากโรงพยาบาลอื่นทั่วประเทศ
- ให้บริการการรักษาโดยคำนึงถึงความพึงพอใจของผู้ป่วยเป็นหลัก
- พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้น
ด้านการวิจัย
-
สร้างและสนับสนุนแพทย์และบุคลากรผู้วิจัยให้มีคุณภาพ คุณธรรม จริยธรรม และมีทักษะการวิจัยที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
-
สร้างศักยภาพในการแข่งขันด้านการวิจัยด้าน Cardiac arrhythmia and electrophysiologyในเวทีระดับชาติและนานาชาติ
-
ส่งเสริมงานวิจัยที่สร้างมูลค่า สร้างนวัตกรรมและพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันทางวิชาการสาธารณสุข โดยร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชน ตามนโยบายและปรัชญาของโรงพยาบาล
-
สร้างระบบบริหารการจัดการงานวิจัยอย่างครบวงจร สร้างระบบบริหารสิ่งเอื้ออำนวยต่อการวิจัย สร้างฐานความรู้ และระบบการประชาสัมพันธ์ผลงานวิจัย เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่สาธารณชนและสากล
ด้านระบบการเรียนการสอน
-
จัดทำระบบการเรียนการสอนสำหรับนิสิตแพทย์, แพทย์ประจำบ้านอายุรศาสตร์ รวมถึงแพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขาวิชาโรคหัวใจและหลอดเลือดให้มีความรู้ด้าน Cardiac arrhythmia
-
เป็นผู้นำในการจัดระบบการเรียนการสอนด้าน Cardiac Electrophysiology ในประเทศไทย ให้มีมาตรฐานมากขึ้นและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
-
มีการจัดระบบการเรียนรู้ต่อเนื่อง เช่น จัดประชุมวิชาการทางด้าน Cardiac arrhythmia, EKG workshop หรือเชิญวิทยากรจากต่างประเทศมาร่วมประชุมวิชาการทุกปี ส่งเสริมให้มีการพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองจากทรัพยากรทางการแพทย์ที่มีอยู่ โดยจัดให้มีศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองและจัดทำเนื้อหาวิชาการผ่านระบบออนไลน์
-
สร้างระบบและบรรยากาศให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ รวมทั้งจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสม
-
สร้างระบบและกลไกสนับสนุนการวิจัยและความก้าวหน้าทางวิชาการด้านการเรียนการสอน
-
สร้างความเป็นเลิศด้านบัณฑิตศึกษาเพื่อแข่งขันในระดับสากลพัฒนาองค์กรให้เป็นผู้นำระดับแนวหน้าแห่งการเรียนรู้ด้าน Cardiac arrhythmia and electrophysiology
ตัวชี้วัด
ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ (KPIs)
- จำนวนผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาด้วยเรื่องหัวใจเต้นผิดจังหวะมีปริมาณเพิ่มขึ้นและได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
- จำนวนคำปรึกษาที่โรงพยาบาลต่างๆทั่วประเทศส่งมาขอรับคำปรึกษากรณีผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะผ่านระบบออนไลน์ในปริมาณที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี
- จำนวนผลงานการวิจัยทางด้าน Cardiac arrhythmia and electrophysiology ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ต่างๆในระดับนานาชาติในปริมาณที่เพิ่มขึ้น
- จำนวนผู้สนใจเข้าใช้บริการระบบสื่อการสอน ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์ในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น
- จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของ CACAC เช่น ประชุมวิชาการ ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
- จำนวนอายุรแพทย์โรคหัวใจที่สมัครเข้ารับการศึกษาต่อทางด้าน Electrophysiology ในแต่ละปี
ตัวชี้วัด |
หน่วย |
||||||
ปี 2566 |
ปี 2567 |
ปี 2568 |
ปี 2569 |
ปี 2570 |
|||
1. ด้านการบริการ(Services) |
|||||||
1.1 จำนวนผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาด้วยเรื่องหัวใจเต้นผิดจังหวะ 1.1.1 EPS & RFA 1.1.2 Pacemaker & AICD &CRT
|
คน |
220 150 |
240 170 |
260 190 |
280 210 |
300 230 |
|
1.2 จำนวนคำปรึกษาที่โรงพยาบาลต่างๆทั่วประเทศส่งมาขอรับคำปรึกษากรณีผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะผ่านระบบออนไลน์ |
ครั้ง |
100 |
120 |
140 |
160 |
180 |
|
2. ด้านการวิจัย (Research) |
|||||||
2.1 จำนวนผลงานการวิจัยทางด้าน Cardiac arrhythmia and electrophysiology ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ต่างๆในระดับนานาชาติ |
เรื่อง |
3 |
4 |
5 |
5 |
5 |
|
3. ด้านการเรียนการสอน(Academy) |
|||||||
3.1 จำนวนผู้สนใจเข้าใช้บริการระบบสื่อการสอน ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์ |
คน |
3000 |
3500 |
4000 |
4500 |
4500 |
|
3.2 จำนวนผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการประจำปี |
คน |
250 |
250 |
250 |
250 |
250 |
|
3.3 จำนวนอายุรแพทย์โรคหัวใจที่สมัครเข้ารับการศึกษาต่อทางด้าน Electrophysiology |
คน |
1 |
2 |
2 |
2 |
2 |
สรุปผลการดำเนินงานที่สำคัญ
- งานแถลงข่าว “ไขความลับ!…ทำอย่างไร? คนไทยจะไม่ใหลตาย” จากการถอดรหัสพันธุกรรมในคนไทยกว่า 750 คน ด้วยนวัตกรรมสมัยใหม่ ในวันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม 2561 ณ ห้องประชุมยาใจ ณ สงขลา อาคารหอพักพัฒนาคณาจารย์ ชั้น 25 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG Workshop) ครั้งที่ 7 ประจำปี 2561 ในหัวข้อ ” The Mysteries of the ECG Waveforms ” ในระหว่างวันที่ 18 – 19 สิงหาคม 2561 ณ ห้องประชุม 370 ที่นั่ง ชั้น 12 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
- การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG Workshop) ครั้งที่ 8 ประจำปี 2562 ในหัวข้อ ” Make it Real in Differential Diagnosis ” ในระหว่างวันที่ 21-22 กันยายน 2562 ณ ห้องประชุม 370 ที่นั่ง ชั้น 12 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
- การนำเสนอนวัตกรรมและแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการแพทย์