เกร็ดความรู้โดยสังเขปของการตรวจทางหัวใจ
Exercise Stress Test การเดินสายพาน
หลักการ คือให้ผู้ป่วย(หรือผู้ที่ต้องการตรวจ)ออกกำลังกายโดยการเดินบนสายพานที่เคลื่อน ที่ไปเรื่อยๆ (บางแห่งอาจให้ปั่นจักรยานแทน) เมื่อออกกำลังกายหัวใจจะเต้นเร็วขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องได้รับเลือดมาเลี้ยงมากขึ้นด้วย หากมีหลอดเลือดหัวใจตีบ เลือดจะไม่สามารถ เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้เพียงพอ จะเกิดอาการแน่นหน้าอก และ มีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจให้เห็น การทดสอบนี้ยังช่วย บอกแพทย์ด้วยว่าผู้ป่วยเหนื่อยง่ายกว่าคนปกติหรือไม่ และ ใช้ในการติดตามผู้ป่วยภายหลังได้รับการรักษา ไม่ว่าจะด้วยยา หรือ การขยายหลอดเลือด หรือ การผ่าตัด โดยการให้ผู้รับการทดสอบเดินบนสายพาน ต่อขั้วและสายนำไฟฟ้าบริเวณหน้าอก 10 สาย เข้ากับเครื่อง Computer ในขณะที่ เดินอยู่ เครื่อง Computer จะบันทึกและแสดงลักษณะของคลื่นนำไฟฟ้าภายในหัวใจพร้อมทั้งความดันโลหิต ตลอดเวลา ในขณะ ทดสอบจะมีการเพิ่มความเร็ว และ ความชัน ของเครื่องเป็นระยะๆตามโปรแกรมที่จะเลือกให้เหมาะสมกับสภาพของผู้ทดสอบ โดยเฉพาะเป็นรายๆไป เมื่อเสร็จสิ้นการทดสอบ ผู้ทดสอบสามารถทราบผลการทดสอบจากแพทย์ ซึ่งจะเฝ้าสังเกตอาการอยู่ ด้วยตลอดการทดสอบได้ทันที
การขยายหลอดเลือดหัวใจ (การทำบอลลูน)
ขั้นตอนการทำหัตถการขยายหลอดเลือดหัวใจ (การทำบอลลูน)มีอะไรบ้าง
- ท่านจะ ได้รับการเตรียมความพร้อมล่วงหน้าหากนัดโดยเจ้าหน้าที่ศูนย์โรคหัวใจ ท่านจะได้รับเอกสารแนะนำการปฏิบัติตัวและขั้นตอนการตรวจก่อนทำหัตถการสวน หัวใจเพราะบางรายจำเป็นต้องหยุดยาที่อาจเป็นอันตรายหากทำหัตถการท่านจะได้ รับความรู้จากพยาบาลจากหอผู้ป่วยไอ ซี ซี ยูเกี่ยวกับการทำหัตถการ ก่อนเซ็นใบอนุญาตในการทำหัตถการ โดยการดู VDO รวมทั้งวิธีการปฏิบัติตนก่อนและหลังทำหัตถการฉีดสีสวนหัวใจ ในวันที่ท่านมาตรวจทางห้องปฏิบัติการ
- ท่านจะ ได้รับการเตรียมด้านร่างกายโดยชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง, รอบเอว, รอบสะโพก การซักประวัติการแพ้ยาและอาหารทะเล ประเมินผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ และ ฟิลม์เอกเรย์โดยพยาบาลจะประสานให้ข้อมูลกับแพทย์เจ้าของไข้ ในรายที่พบความผิดปกติเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพของท่าน ให้ท่านมีความพร้อมมากที่สุดก่อนการทำหัตถการ
- ท่านจะได้รับคำแนะนำให้งดน้ำและอาหารหลังเที่ยงคืน ในคืนก่อนทำหัตถการเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากการแพ้สารทึบรังสี
- ท่านจะได้รับการเตรียมผิวหนังบริเวณขาหนีบ 2 ข้าง หรือบริเวณข้อมือ
ท่านจะได้รับการปฏิบัติดังนี้
- การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา
- การแจ้งให้ทราบว่าจะส่งทำการฉีดสี
- ตรวจสอบและบันทึกสัญญาณชีพ ก่อนส่ง
- การคลำชีพจรบริเวณข้อมือ/หลังเท้า และทำเครื่องหมายกากบาท
- สอบถามการถอดเครื่องประดับ ฟันปลอม รวมทั้งอุปกรณ์ที่เป็นสื่อนำไฟฟ้าก่อนส่ง
- ตรวจสอบว่าท่านยังงดน้ำและอาหารอยู่
- ให้ปัสสาวะก่อนส่ง
- ได้ยาเตรียมก่อนส่ง
- ท่านถูกส่งไปห้องสวนหัวใจพร้อมทั้งประวัติ, film และหมอนทราย
- พยาบาลไปรับท่านที่ห้องสวนหัวใจ จะประเมินสภาพสัญญาณชีพ บาดแผล ชีพจรส่วนปลาย สารละลายที่ท่านได้รับ ตรวจสอบกับ คำสั่งการรักษา
- เคลื่อนย้ายท่านกลับมาตึกพักรักษาพยาบาลพร้อมทั้ง ประวัติ, ฟิลม์เอกเรย์
- ให้นอนราบห้ามงอขาข้างที่ทำประมาณ 6- 12 ชั่วโมง หรือห้ามงอข้อมือข้างที่ทำอย่างน้อย 4 ชม.
- ตรวจสอบ ชีพจรบริเวณส่วนปลายใต้บริเวณที่ทำ หัตถการทุก 15 นาที x 4 ครั้ง, 30 นาที x 2 ครั้ง และทุก 1 ชม.
- ตรวจสอบบาดแผลบริเวณที่ทำหัตถการว่าเลือดซึมออกหรือไม่
- ตรวจเช็คสัญญาณชีพทุก 15 นาที x 4 ครั้ง, 30 นาที x 2 ครั้ง และทุก 1 ชม.
Defibrillator หรือ ICD (Implantable Cardioverter Defibrillator
สามารถทำงานได้เหมือนกับเครื่อง pacemaker ทุกประการ เพียงแต่เพิ่มความสามารถที่จะทำให้หัวใจห้องล่างที่เต้นเร็วผิดปกติชนิดร้ายแรง (VentricularTachycardia หรือ Fibrillation) ให้กลับมาเต้นเป็นปกติได้ด้วยการช็อกหรือกระตุกหัวใจ สำหรับผู้ที่รอดชีวิตจากการที่หัวใจหยุดเต้น (Cardiac Arrest) ที่เรียกว่า Ventricular Fibrillation หรือผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะมี Cardiac Arrest ซึ่งเครื่อง ICD บางรุ่นก็สามารถกระตุ้นหัวใจทั้ง 2 ข้างได้
Pacemaker สำหรับผู้ที่มีหัวใจวาย (Congestive Heart Failure) ที่เรียกว่า เครื่อง CRT(Cardiac Resynchronization Therapy)
ในผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจวายมาก ซึ่งเกิดจากการที่กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงบีบตัวได้ไม่ดี และมีการนำไฟฟ้าที่ช้ามากจนทำให้หัวใจทั้ง 2 ข้างและผนังหัวใจแต่ละส่วนบีบตัวไม่พร้อมกันการผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดพิเศษ(Cardiac Resynchronization Therapy (CRT) หรือ Biventricular pacing) ที่กระตุ้นหัวใจห้องล่างทั้ง 2 ข้างพร้อมกัน แทนที่จะกระตุ้นหัวใจห้องล่างขวาเพียงอย่างเดียวตามปกติ จะทำให้หัวใจส่วนต่างๆทำงานได้อย่างพร้อมเพรียงกันสามารถลดอาการหัวใจวาย ลด อัตราการตายและช่วยให้หัวใจดีขึ้นได้เป็นอย่างดี
ลักษณะเครื่องกระตุ้นหัวใจ เป็นเครื่องมือขนาดเล็กๆกว้างยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตรหนาประมาณ 1/2 เซนติเมตรภายในจะประกอบด้วย
1.ส่วนรับรู้การเต้นของหัวใจ
2.ส่วนส่งพลังงานไฟฟ้าไปกระตุ้นหัวใจเมื่อพบว่าหัวใจเต้นช้ากว่าความต้องการของร่างกาย
3. ส่วนแบตเตอรี่ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักให้พลังงานได้ 5 – 10 ปี แล้วแต่ปริมาณการใช้งาน
เครื่องกระตุ้นหัวใจจะมีชนิดที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละคน โดยจะเป็นชนิดใดก็ขึ้นอยู่กับอาการและสภาพร่างกาย โรคหัวใจและการเต้นของหัวใจที่จะทำให้มีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดฝังเครื่อง pacemaker ในบางกรณีการกระตุ้นหัวใจห้องเดียวก็ดีกว่า 2 ห้อง แต่บางครั้งการกระตุ้น 3 ห้องก็ดีกว่า 2 ห้อง ขั้นตอนในการผ่าตัดฝังเครื่องทั้งสองชนิดไม่แตกต่างกันมากนัก เพียงแต่เครื่องและสาย ICD จะมีขนาดใหญ่กว่า และต้องทดลองกระตุ้นVentricular Fibrillation และทดลองช็อก
ขั้นตอนการทำหัตถการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ มีอะไรบ้าง
ขั้นตอนก่อนการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ
- ท่านจะได้รับการเตรียมความพร้อมล่วงหน้าหากนัดโดยเจ้าหน้าที่ศูนย์โรคหัวใจ ท่านจะได้รับเอกสารแนะนำการปฏิบัติตัวและขั้นตอนการตรวจก่อนทำหัตถการใส่ เครื่องกระตุ้นหัวใจ เพราะบางรายจำเป็นต้องหยุดยาที่อาจเป็นอันตรายหากทำหัตถการ
- ท่าน จะได้รับความรู้จากพยาบาลจากหอผู้ป่วยไอ ซี ซี ยูเกี่ยวกับการทำหัตถการ ก่อนเซ็นใบอนุญาตในการทำหัตถการ โดยการดู VDO รวมทั้งวิธีการปฏิบัติตนก่อนและหลังทำหัตถการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ ในวันที่ท่านมาตรวจทางห้องปฏิบัติการ-ท่าน จะได้รับการเตรียมด้านร่างกายโดยชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง, รอบเอว, รอบสะโพก การซักประวัติการแพ้ยาและอาหารทะเล ประเมินผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ และ ฟิลม์เอกเรย์โดยพยาบาลจะประสานให้ข้อมูลกับแพทย์เจ้าของไข้ ในรายที่พบความผิดปกติเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพของท่าน ให้ท่านมีความพร้อมมากที่สุดก่อนการทำหัตถการ-ท่าน จะได้รับคำแนะนำให้งดน้ำและอาหารหลังเที่ยงคืน ในคืนก่อนทำหัตถการเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น-ท่านจะได้รับการ เตรียมผิวหนังบริเวณใต้กระดูกไหปลาร้าอาจเป็นด้านซ้ายหรือขวา
ขั้นตอนการส่งใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ
ท่านจะได้รับการปฏิบัติดังนี้
- การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา
- การแจ้งให้ทราบว่าจะส่งใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ
- ตรวจสอบและบันทึกสัญญาณชีพ ก่อนส่ง
- สอบถามการถอดเครื่องประดับ ฟันปลอม รวมทั้งอุปกรณ์ที่เป็นสื่อนำไฟฟ้าก่อนส่ง
- ตรวจสอบว่าท่านยังงดน้ำและอาหารอยู่
- ให้ปัสสาวะก่อนส่ง
- ได้ยาเตรียมก่อนส่ง
ท่านถูกส่งไปห้องสวนหัวใจพร้อมทั้งประวัติ, film และอุปกรณ์ทางการแพทย์ เครื่องกระตุ้นหัวใจ
หลังจากใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแล้วท่านจะได้รับการ ดูแลดังนี้
คลำชีพจรนับอัตรา 1 นาทีและบันทึกไว้ ก่อนจับควรนั่งพักอย่างน้อย 5 นาที
- สังเกตลักษณะแผล ถ้าแผลยังไม่แห้ง ห้ามให้แผลโดนน้ำ
- พกบัตรประจำตัวที่มีข้อมูลพื้นฐานของตัวเครื่อง เบอร์โทรศัพท์โรงพยาบาล และเบอร์โทรศัพท์แพทย์ที่ให้การรักษา
- แจ้งและแสดงบัตรประจำตัวทุกครั้งที่ไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาล การตรวจโดยวิธี MRI มีผลทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องลดลง
- เดินทางได้ตามปกติ ควรแจ้งและแสดงบัตรประจำตัวให้เจ้าหน้าที่ที่ตรวจจับโลหะที่สนามบิน เพื่อความสะดวกในการตรวจค้น
- ทำกิจกรรมต่างๆได้ตามปกติ ออกกำลังกายได้ และไม่ควรอยู่ตามลำพัง
- ระวังการกระแทกบริเวณที่ฝังเครื่อง เลี่ยงการนวดหน้าอก เข็มขัดนิรภัยควรมีฟองน้ำหุ้มรองรับ
- ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่มีไฟรั่ว ถ้าใช้อุปกรณ์ใดแล้วรู้สึกใจสั่น เวียนศีรษะ ให้รีบปิดสวิตช์ไฟแล้วออกห่างจากอุปกรณ์นั้นทันที
- ควรถือโทรศัพท์ด้านตรงข้ามกับบริเวณที่ใส่เครื่อง ถือห่างประมาณ 6 นิ้ว อาจใช้ small talk แทนและไม่ใส่โทรศัพท์มือถือในกระเป๋าเสื้อที่หน้าอกด้านที่ใส่เครื่อง
- ปรึกษาแพทย์ : อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ หายใจขัด เจ็บหน้าอก หรือสะอึก มีไข้สูง แผลบวมแดง มีหนอง และชีพจรช้าหรือเร็วกว่าที่เครื่องกำหนด 5-10 ครั้ง/นาทีในกรณีใส่เครื่องชนิด AICD
- ให้การพยาบาลเช่นเดียวกับการใส่ Permanent pacemaker แต่มีเพิ่มเติมคือ
- สังเกตและประเมินสัญญาณชีพ, EKG ถ้าพบว่าเครื่องปล่อยกระแส(shock) ในขณะที่ EKG Sinus rhythm ให้รีบรายงานแพทย์ ทันที
- ขณะอยู่ที่โรงพยาบาลมี Ventricular arrhythmia บ่อยๆ ทำให้เปลืองแบตเตอรี่อาจต้องใช้ External defibrillator แทน
- ถ้าต้อง CPR ในขณะที่ AICD ทำการ Shock ผู้ป่วย พยาบาลควรใส่ถุงมือ
- ประคับประคองจิตใจผู้ป่วย เพื่อให้คลายความกลัวและวิตกกังวล
- ให้การพยาบาลเช่นเดียวกับการใส่ Permanent pacemaker แต่มีเพิ่มเติมคือ
- สังเกตและประเมินสัญญาณชีพ, EKG ถ้าพบว่าเครื่องปล่อยกระแส(shock) ในขณะที่ EKG Sinus rhythm ให้รีบรายงานแพทย์ทันที
- ขณะอยู่ที่โรงพยาบาลมี Ventricular arrhythmia บ่อยๆ ทำให้เปลืองแบตเตอรี่อาจต้องใช้ External defibrillator แทน
- ถ้าต้อง CPR ในขณะที่ AICD ทำการ Shock ผู้ป่วย พยาบาลควรใส่ถุงมือ
- ประคับประคองจิตใจผู้ป่วย เพื่อให้คลายความกลัวและวิตกกังวล
แพทย์จะใส่สาย (lead) ซึ่งมีขั้วไฟฟ้าเล็กๆที่ปลายสายเข้าทางหลอดเลือดดำ ส่วนใหญ่จะใส่ไว้บริเวณใต้กระดูกไหปลาร้าอาจเป็นด้านซ้ายหรือขวาแล้วแต่ความถนัดของผู้ป่วย (ถนัดซ้าย ฝังขวา ถนัดขวา ฝังซ้าย) แพทย์จะวางตำแหน่งปลายสายไว้ในห้องหัวใจด้านขวาบนห้องขวาล่างหรือทั้ง 2 ห้อง แล้วแต่ความจำเป็นของผู้ป่วย จากนั้นจะต่อปลายสายอีกด้านเข้ากับ PCP ซึ่งจะถูกฝั่งไว้ใต้ผิวหนังบริเวณใต้กระดูกไหปลาร้า PCP จะรับสัญญาณไฟฟ้าของหัวใจผ่านทางสายตลอดเวลา เมื่ออัตราการเต้นของหัวใจของผู้ป่วยช้าลงกว่าที่ได้ตั้งโปรแกรมไว้ เครื่องจะส่งพลังงานไฟฟ้าปริมาณน้อยๆ (แต่เพียงพอ) เพื่อกระตุ้นให้จังหวะหัวใจตามอัตราที่ตั้งไว้
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ
1.งดสูบบุหรี่ทั้งตนเองและคนที่อยู่ในบ้านเดียวกันกรณีที่เลิกบุหรี่ไม่ได้ด้วยตนเองอาจต้องปรึกษาแพทย์โรคปอดเข้าคลินิกงดบุหรี่
2.กรณีที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ควรคุมความดันโลหิตให้ต่ำกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท โดยจำกัดอาหารเค็ม และอาจต้องยาร่วมด้วยถ้าคุมความดันโลหิตไม่ได้
3.ควบคุมให้ได้ระดับไขมันในเลือดชนิด LDL น้อยกว่า 100 mg/dL ระดับไขมันในเลือดชนิด HDL >35 mg/dL ระดับไขมันในเลือดชนิด triglyceride < 200 mg/dL โดยควบคุมอาหารจำกัดอาหารที่มีไขมันสูงทุกชนิด ร่วมกับการออกกำลังกาย และอาจต้องยาลดไขมันร่วมด้วยกรณีควบคุมไม่ได้
4.ควรออกกำลังกายอย่างน้อยครั้งละ30-60นาทีสัปดาห์ละ3-4ครั้ง
5.ลดความอ้วน ควบคุมน้ำหนัก ให้รอบเอวน้อยกว่า 40 นิ้วในผู้ชาย และน้อยกว่า 35 นิ้วในผู้หญิง และควรให้ได้ค่าดัชนีมวลสาร(Body mass index,BMI) อยู่ในช่วง 18.5-24.9 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (ค่า BMI เท่ากับ น้ำหนักหารด้วยส่วนสูงหน่วยเป็นเมตรยกกำลังสอง)
6. ในรายที่เป็นเบาหวานร่วมด้วย ควรควบคุมให้ได้ระดับน้ำตาลใกล้เคียงคนปกติ คือประมาณ 100-110 mg/dL และทำให้ระดับ HbA1c น้อยกว่า 7% (HbA1c เป็นค่าที่แพทย์ใช้ในการประเมินการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในช่วง 2-3 เดือน) ซึ่งอาจต้องใช้ทั้งการควบคุมอาหารและการใช้ยารักษาเบาหวานร่วมด้วย
7.ต้องทาน Aspirin ขนาด 75-325 มิลลิกรัม/วัน ไปตลอดชีวิตเพื่อป้องกันการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบมากขึ้น ในรายที่ใช้Aspirinไม่ได้ เช่น แพ้ยาหรือทานยาแล้วมีอาการของโรคกระเพาะอาหาร ให้ใช้ ยา Clopidogrel หรือ Ticlopidine แทน